- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์
- รายละเอียดสถานการณ์ผลิดและการตลาด
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 16-22 มิ.ย.57
ข่าวสัปดาห์ 16-22 มิ.ย.57
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้งคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.13 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 20.38 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.68
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ (ชนิดดี) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา (ชนิดรอง) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ รายงานภาวะการผลิตถั่วลิสงโลก ปี 2556/57 ประจำเดือนมิถุนายน 2557
ว่ามีผลผลิต 40.86 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 39.89 ล้านตัน ของปี 2555/56 คิดเป็นร้อยละ 2.43 หรือคิดเป็นร้อยละ 7.92 ของผลผลิตพืชน้ำมันของโลกรองจากถั่วเหลือง เรปซีด และเมล็ดฝ้าย ซึ่งมีปริมาณ 300.00 ล้านตัน
69.11 ล้านตัน และ 43.44 ล้านตัน ตามลำดับ
รายการ |
2556/57 |
2555/56 |
ผลต่างร้อยละ |
40.86 |
39.89 |
2.43 | |
นำเข้า |
2.28 |
2.25 |
1.33 |
ส่งออก |
2.87 |
2.90 |
-1.03 |
สกัดน้ำมัน |
18.24 |
17.61 |
3.58 |
สต็อกปลายปี |
2.09 |
1.88 |
11.17 |
ที่มา : Oilseeds : World Market and Trade, June, 2014.
ประเทศ |
2556/57 |
2555/56 |
ผลต่างร้อยละ |
สาธารณรัฐประชาชนจีน |
17.20 |
17.00 |
1.18 |
อินเดีย |
5.80 |
5.65 |
2.65 |
อื่น ๆ |
17.86 |
17.24 |
3.60 |
รวม |
40.86 |
39.89 |
2.43 |
ที่มา : Oilseeds : World Market and Trade, June, 2014.
ข่าวสัปดาห์ 16-22 มิ.ย.57
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนผลผลิตฝ้ายโลกปี 2556/57 เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2557 มี 25.24 ล้านตัน ลดลงจาก 25.72 ล้านตัน ของปี 2555/56 ร้อยละ 1.87
การค้า
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ฝ้ายโลก ปี 2556/57 ว่ามี 24.45 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 23.91 ล้านตันของปี 2555/56 ร้อยละ 2.26 ด้านการนำเข้า คาดว่าจะมี 7.74 ล้านตัน ลดลงจาก 8.94 ล้านตันของปี 2555/56 ร้อยละ 13.42 ด้านการส่งออก คาดว่าจะมี 7.74 ล้านตัน ลดลงจาก 8.93 ล้านตันของปี 2555/56 ร้อยละ 13.33
(คาดคะเนเมื่อวันที่ 11 เดือน มิถุนายน 2557)
รายการ |
ปี 2556/57 |
ปี 2555/56 |
ผลต่างร้อยละ |
21.56 |
19.60 |
10.00 | |
ผลผลิต |
25.24 |
25.72 |
-1.87 |
นำเข้า |
7.74 |
8.94 |
-13.42 |
ส่งออก |
7.74 |
8.93 |
-13.33 |
ใช้ในประเทศ |
24.45 |
23.91 |
2.26 |
สต็อกปลายปี |
22.36 |
21.56 |
3.71 |
ที่มา : Cotton World markets and trade, USDA ประจำเดือนมิถุนายน 2557
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2557 ทำสัญญาสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 88.84 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 63.78 บาท เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 85.35 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 61.40 บาทในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 4.09 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 2.38 บาท
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.00 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.60 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.26 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.80 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.60 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.57
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.13 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 10.04 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.89 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.98 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.74 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.75
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 330.60 ดอลลาร์สหรัฐ (10,641 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากตันละ 324.40 ดอลลาร์สหรัฐ (10,464 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.92 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 177 บาท
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2557/58 ว่ามี 967.52 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 950.98 ล้านตันในปี 2556/57 ร้อยละ 1.74 เนื่องจาก จีน สหภาพยุโรป บราซิล เม็กซิโก อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ยูเครน อาร์เจนตินา รัสเซีย และฟิลิปปินส์ มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น สำหรับการค้าของโลก มี 118.44 ล้านตัน ลดลงจาก 119.45 ล้านตันในปี 2556/57 ร้อยละ 0.84 เนื่องจาก รัสเซีย ยูเครน สหรัฐอเมริกา และอินเดีย ส่งออกลดลง ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น เม็กซิโก จีน อินโดนีเซีย สหภาพยุโรป มีการนำเข้าลดลง (ตารางแนบท้าย)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกรกฎาคม 2557 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุซเชลละ 443.68 เซนต์ (5,688บาท/ตัน)ลดลงจากบุชเชลละ 448.08 เซนต์ (5,756 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.98 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 68 บาท
บัญชีสมดุลข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โลก
(คาดคะเนเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2557)
หน่วย : ล้านตัน
รายการ |
ปี 2557/58 |
ปี 2556/57 |
ผลต่างร้อยละ |
สต็อกต้นปี |
169.05 |
138.14 |
22.37 |
ผลผลิต |
981.12 |
981.89 |
-0.07 |
นำเข้า |
118.44 |
119.45 |
-0.84 |
ส่งออก |
118.44 |
119.45 |
-0.84 |
ใช้ในประเทศ |
967.52 |
950.98 |
1.74 |
สต็อกปลายปี |
182.65 |
169.05 |
8.04 |
ที่มา : กระทรวงเกษตรสหรัฐ ฯ
ถั่วเขียว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่ชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันชนิดเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันชนิดเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันชนิดเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,242.20 ดอลลาร์สหรัฐ (39.98 บาท/กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจากตันละ 1,240.20 ดอลลาร์สหรัฐ (40.00 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.17 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวมันชนิดเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,148.80 ดอลลาร์สหรัฐ (36.98 บาท/กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจากตันละ 1,146.60 ดอลลาร์สหรัฐ (36.99บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.20 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ข่าวรายสัปดาห์ 16-22 มิ.ย. 57
ถั่วเหลือง
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 20.95 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 20.45 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ปริมาณการส่งออกถั่วเหลืองจากผู้ส่งออกรายใหญ่ 4 ประเทศ ได้แก่ บราซิล สหรัฐอเมริกา อาเจนตินา ปารากวัย ในช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2557 รวม 22.25 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.30 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการใช้เมล็ดถั่วเหลืองจากสหภาพยุโรป อียิปต์ ตุรกี และอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.80 ขณะที่จีนผู้นำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองรายใหญ่ที่สุดของโลก ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมานำเข้าลดลงเนื่องจากสต็อกเมล็ดถั่วเหลืองของจีนยังอยู่ในระดับสูง
ราคาในตลาดต่างประเทศ(ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,409.60 เซนต์ (16.86 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,454.93 เซนต์ (17.43 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.12
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 455.43 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.83 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 483.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.75 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.71
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 39.77 เซนต์ (28.54 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 38.88 เซนต์ (27.94 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.29
สุกร
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ไก่เนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้สถานการณ์ตลาดไข่ไก่ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนทำให้มีอาหารและสัตว์น้ำตามธรรมชาติเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความต้องการบริโภคชะลอตัวลง แนวโน้มคาดว่าราคาจะลดลงเล็กน้อย
ไข่เป็ด
โคเนื้อ
กระบือ
ข่าวรายสัปดาห์ 16-22 มิ.ย. 2557
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 26.26 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 26.16 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.38
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
อินเดียนำเข้าน้ำมันปาล์มเพิ่มขึ้นก่อนช่วงเดือนรอมฎอน
เดือนพฤษภาคม 2557 อินเดียผู้นำเข้าน้ำมันปาล์มรายใหญ่ที่สุดของโลกนำเข้าน้ำมันพืชรวม 1.03 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 24 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา โดยนำเข้าน้ำมันปาล์ม 654,255 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 22 น้ำมัน ถั่วเหลือง 174,209 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 54 และน้ำมันเมล็ดทานตะวัน 178,753 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 เนื่องจาก ผู้ซื้อต้องการเก็บเป็นสต็อกก่อนจะถึงช่วงรอมฎอนที่จะมีขึ้นปลายเดือนมิถุนายนนี้ อีกทั้งการที่อินเดียนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบเพิ่มขึ้น เพราะราคานำเข้าน้ำมันปาล์มดิบเดือนพฤษภาคม 2557 เฉลี่ยตันละ 876 ดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากเดือนเมษายน 2557 ตันละ 31 ดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ราคานำเข้าน้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันเมล็ดทานตะวันเดือนพฤษภาคม 2557 เฉลี่ยตันละ 934 ดอลลาร์สหรัฐฯ และ 942 ดอลลาร์สหรัฐฯ ตามลำดับ
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,458.18 ดอลลาร์มาเลเซีย (25.13 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 2,392.27 ดอลลาร์มาเลเซีย (24.65 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.76
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 852.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (27.76 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 832.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (27.15 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.40
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,615 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,303 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,065 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ตารางราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี